เมนู

พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงมาตุคามที่ทรงประสงค์ในคำ
ว่า มาตุคามํ ทุฏฐุลฺลาหิ ราจาหิ นี้ จึงตรัสดำว่า มาตุคาโม เป็นอาทิ.
บรรดาบทเหล่านั้น ด้วยคำว่า เป็นหญิงที่รู้เดียงสา สามารถทราบ
ถ้อยคำที่เป็นสุภาษิตทุพภาษิต วาจาชั่วหยาบและสุภาพได้ นี้ท่านพระ-
อุบาลีแสดงว่า หญิงที่เป็นผู้ฉลาด สามารถเพื่อจะทราบถ้อยคำที่เป็น
ประโยชน์และไร้ประโยชน์ ถ้อยคำที่พาดพิงอสัทธรรมและสัทธรรมทรง
ประสงค์เอาในสิกขาบทนี้, ส่วนหญิงที่โง่เขลาเบาปัญญาแม้เป็นผู้ใหญ่
ก็ไม่ทรงประสงค์เอาในสิกขาบทนี้.
บทว่า โอภาเสยฺย ความว่า พึงพูดเคาะ คือ พูดพาดพิงอสัท-
ธรรม มีประการต่าง ๆ. ก็เพราะชื่อว่า การพูดเคาะของภิกษุผู้พูดอย่างนี้
โดยความหมาย เป็นอัชฌาจาร คือ เป็นความประพฤติล่วงละเมิดเขต
แดนแห่งความสำรวมด้วยอำนาจแห่งราคะ; เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงเนื้อความนั้น จึงตรัสว่า บทว่า โอภาเสยฺย
คือ ที่เรียกว่า อัชฌาจาร.
คำว่า ตํ ในคำว่า ยถาตํ นี้ เป็นเพียงนิบาต. ความว่า เหมือน
ชายหนุ่มพูดเคาะหญิงสาวฉะนั้น.
คำเป็นต้นว่า เทฺว มคฺเค อาทิสฺส ดังนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส
แล้ว เพื่อทรงแสดงอาการที่เป็นเหตุให้เป็นสังฆาทิเสส แก่ภิกษุผู้พูดเคาะ
(หญิง).

[อธิบายบทภาชนีย์ สังฆาทิเสสที่ 3]


บรรดาบทเหล่านั้น สองบทว่า เทฺว มคฺเค ได้แก่ วัจจมรรคกับ

ปัสสาวมรรค. คำที่เหลือปรากฏแล้วแต่แรกในอุเทศนั่นแล. ก็ในอุเทศ
คำว่า พูดชม คือ พูดว่า เธอเป็นผู้เพียบพร้อมด้วยลักษณะของหญิง
คือด้วยศุภลักษณะ, อาบัติยังไม่ถึงที่สุดก่อน. พูดว่า วัจจมรรคและ
ปัสสาวมรรคของเธอเป็นเช่นนี้, เธอเป็นผู้เพียบพร้อมด้วยลักษณะของ
สตรี คือด้วยศุภลักษณะเช่นนี้ ด้วยเหตุเช่นนั้น, อาบัติย่อมถึงที่สุด คือ
เป็นสังฆาทิเสส.
ก็สองบทว่า วณฺเณติ ปสํสติ นี้ เป็นไวพจน์ของบทว่า พูดชม.
บทว่า ขุํเสติ ความว่า ย่อมพูดกระทบกระเทียบด้วยประตัก คือ
วาจา.
บทว่า วมฺเภติ แปลว่า พูดรุกราน.
บทว่า ครหติ แปลว่า ย่อมกล่าวโทษ.
แต่เมื่อยังไม่พูดเชื่อมต่อกับ 11 บท มีบทว่า อนิมิตฺตาสิ เป็นต้น
ซึ่งมาในบาลีข้างหน้า อาบัติยังไม่ถึงที่สุด, ถึงแม้เชื่อมแล้ว เมื่อพูดเชื่อม
ด้วย 3 บทเหล่านี้ว่า เธอเป็นคนมีเดือย, เธอเป็นคนผ่า, เธอเป็นคน 2
เพศ ดังนี้เท่านั้น ในบรรดา 11 บทเหล่านั้น จึงเป็นสังฆาทิเสส. แม้
ในการพูดขอว่า เธอจงให้แก่เรา อาบัติยังไม่ถึงที่สุด ด้วยคำพูดเพียง
เท่านี้ ต่อเมื่อพูดเชื่อมด้วยเมถุนธรรมอย่างนี้ว่า เธอจงให้เมถุนธรรม
เป็นสังฆาทิเสส. แม้ในคำพูดอ้อนวอนว่า เมื่อไรมารดาของเธอจักเลื่อมใส
เป็นต้น อาบัติยังไม่ถึงที่สุด ด้วยคำพูดเพียงเท่านี้ แต่เมื่อพูดเชื่อมด้วย
เมถุนธรรม โดยนัยเป็นต้นว่า เมื่อไรมารดาของเธอจักเลื่อมใส, เมื่อไร
เราจักได้เมถุนธรรมของเธอ หรือว่า เมื่อมารดาของเธอเลื่อมใสแล้ว
เราจักได้เมถุนธรรม ดังนี้ เป็นสังฆาทิเสส. แม้ในคำถามเป็นต้นว่า เธอ

ให้แก่สามีอย่างไร ? เมื่อพูดคำว่า เมถุนธรรม เท่านั้น จึงเป็นสังฆา-
ทิเสส หาเป็นโดยประการอื่นไม่. แม้ในคำพูดสอบถามว่า ได้ยินว่า
เธอให้แก่สามีอย่างนี้หรือ ก็มีนัยเหมือนกันนี้.
พึงทราบวินิจฉัยในการบอกดังนี้:- สองบทว่า ปุฏฺโฐ ภณติ มี
ความว่า ภิกษุถูกผู้หญิงถามว่า เมื่อให้อย่างไร จึงจะเป็นที่รักของสามี ?
แล้วบอก. ก็ในการบอกนั้น แม้เมื่อพูดว่า จงให้อย่างนี้ เมื่อให้อย่างนี้
อาบัติยังไม่ถึงที่สุด, แต่เมื่อเชื่อมด้วยเมถุนธรรมเท่านั้น โดยนัยเป็นต้น
ว่า เธอจงให้ จงน้อมเข้าไป ซึ่งเมถุนธรรมอย่างนี้, เมื่อให้ เมื่อน้อม
เข้าไปซึ่งเมถุนธรรมอย่างนี้ จะเป็นที่รัก เป็นสังฆาทิเสส. แม้ในการ
กล่าวสอน ก็มีนัยเหมือนกันนี้.
วินิจฉัยอักโกสนิเทศ พึงทราบดังนี้:-
บทว่า อนิมิตฺตาสิ แปลว่า เธอเป็นคนปราศจากนิมิต. มีอธิบาย
ว่า ช่องปัสสาวะของเธอมีประมาณเท่ารูกุญแจเท่านั้น.
บทว่า นิมิตฺตมตฺตาสิ แปลว่า นิมิตสตรีของเธอ ไม่เต็มบริบูรณ์,
มีอธิบายว่า สักแต่ว่าเป็นที่หมายรู้เท่านั้น.
บทว่า อโลหิตา แปลว่า มีช่องคลอดแห้ง.
บทว่า ธุวโลหิตา แปลว่า มีช่องคลอดที่เปียกชุ่มไปด้วยโลหิต
เป็นนิตย์.
บทว่า ธุวโจลา แปลว่า มีผ้าลิ่มจุกอยู่เป็นนิตย์. มีอธิบายว่า
เธอใช้ผ้าซับเสมอ.
บทว่า ปคฺฆรนฺติ แปลว่า ย่อมไหลออก. มีอธิบายว่า น้ำมูตร
ของเธอไหลออกอยู่เสมอ.

บทว่า สิขิรณี แปลว่า มีเนื้อเดือยยื่นออกมาข้างนอก. หญิงที่ไม่
มีนิมิตเลย ท่านเรียกว่า หญิงบัณเฑาะก์, หญิงที่มีหนวดและเครา รูปร่าง
คล้ายผู้ชาย ท่านเรียกว่า หญิงคล้ายผู้ชาย.
บทว่า สมฺภนฺนา ความว่า มีช่องทวารหนัก และช่องทวารเบา
ปนกัน.
บทว่า อุภโตพฺยญฺชนา ความว่า เป็นผู้ประกอบด้วยเพศทั้งสอง
คือ เครื่องหมายเพศสตรี 1 เครื่องหมายเพศบุรุษ 1.
ก็บรรดา 11 บทเหล่านั้น 3 บทล้วน ๆ นี้ คือ เธอมีเดือย, เธอ
เป็นคนผ่า, เธอเป็นคนสองเพศ เท่านั้น ย่อมถึงที่สุด. 3 บทนี้ และ
3 บทก่อน ๆ คือ บทว่าด้วยวัจจมรรคปัสสาวมรรค และเมถุนธรรม
รวมเป็น 6 บทล้วน ๆ ทำให้เป็นอาบัติได้ ด้วยประการฉะนี้.
บทที่เหลือเป็นต้นว่า เธอเป็นคนไม่มีนิมิต ซึ่งเชื่อมในบทว่าไม่มี
นิมิต ด้วยเมถุนธรรมไม่แล้วนั่นแล โดยนัยเป็นต้นว่า เธอจงให้เมถุนธรรม
แก่เรา หรือว่า เธอเป็นคนไม่มีนิมิต จงให้เมถุนธรรมแก่เรา พึงทราบ
ว่า เป็นบทก่อให้เป็นอาบัติได้.
บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงชนิดแห่งอาบัติโดยพิสดาร
ด้วยสามารถแห่งอาการมีการพูดชมเป็นต้นเหล่านี้ พาดพิงถึงวัจจมรรค
และปัสสาวมรรค ของภิกษุผู้กำหนัด มีจิตแปรปรวนพูดเคาะมาตุคาม
จึงตรัสคำว่า อิตฺถี จ โหติ อิตฺถีสญฺญี เป็นต้น เนื้อความแห่งบทเหล่า-
นั้น พึงทราบตามนัยที่กล่าวแล้ว ในกายสังสัคคะนั่นแล. ส่วนความ
แปลกกัน ดังต่อไปนี้:-

บทว่า อธกฺขกํ คือ เบื้องต่ำตั้งแต่รากขวัญลงมา.
บทว่า อุพฺภชานุนณฑลํ คือ เบื้องบนตั้งแต่มณฑลเข่าขึ้นไป.
บทว่า อพฺภกฺขกํ คือ บนตั้งแต่รากขวัญขึ้นไป.
บทว่า อโธชานุมณฺฑลํ คือ ต่ำตั้งแต่มณฑลเข่าลงไป.
ก็รากขวัญ (ไหปลาร้า) และมณฑลเข่า สงเคราะห์เข้าในเขตแห่ง
ทุกกฎ เฉพาะในสิกขาบทนี้ เหมือนในกายสังสัคคะของนางภิกษุณี แท้จริง
พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมทรงบัญญัติครุกาบัติ ให้มีส่วนเหลือหามิได้เเล
บทว่า กายปฏิพทฺธํ ได้แก่ ผ้าบ้าง ดอกไม้บ้าง เครื่องประดับบ้าง.

[ว่าด้วยอนาปัตติวาร]


บทว่า อตฺถปุเรกฺขารสฺส ความว่า ผู้กล่าวอรรถแห่งบทเป็นต้นว่า
อนิมิตฺตาสิ หรือผู้ทำการสาธยายอรรถกถา.
บทว่า ธมฺมปุเรกฺขารสฺส ความว่า ผู้บอก หรือสาธยายพระบาลี
อยู่. เมื่อภิกษุมุ่งอรรถ มุ่งธรรม กล่าวอย่างนี้ ชื่อว่า ไม่เป็นอาบัติแก่
ผู้มุ่งอรรถ และมุ่งธรรม.
บทว่า อนุสาสนีปุเรกฺขารสฺส ความว่า เมื่อภิกษุมุ่งสั่งสอนกล่าว
อย่างนั้นว่า ถึงบัดนี้ เธอก็เป็นคนไม่มีนิมิต, เป็นคนสองเพศ เธอพึง
ทำความไม่ประมาทเสีย แต่บัดนี้, เธออย่าเป็นเหมือนอย่างนี้ต่อไปเลย
ชื่อว่า ไม่เป็นอาบัติแก่ผู้มุ่งคำสอน. ส่วนภิกษุใด เมื่อบอกบาลีแก่พวก
นางภิกษุณี ละทำนองพูดตามปกติเสีย หัวเราะเยาะพูดย้ำ ๆ อยู่ว่า เธอ
เป็นคนมีเดือย, เป็นคนผ่า, เป็นคนสองเพศ, ภิกษุนั้น เป็นอาบัติแท้.